วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลักสูตรการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง

หลักสูตรการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง  จำนวน 50 ชั่วโมง
กลุ่มวิชาอาชีพเกษตรกรรม


ความเป็นมา

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข็มแข่งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก “ ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่งและมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาค อาเซียนและระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประปาชนและประเทศชาติ 
             
 สภาพสังคมในปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่งทรัพยากรมีน้อยลง จึงมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการประกอบอาชีพด้านการเกษตร มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากการประกอบอาชีพให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น 

อาชีพการเพาะเห็ดฟาง จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้โดยการใช้วัสดุเหลือใช้ ในการประกอบอาชีพมาสร้างรายได้และการมีงานทำอย่างยั่งยืนของประชาชน

หลักการ

การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา อาชีพเพื่อการมีงานทำ กำหนดหลักการไว้ดังนี้

1.เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละประเทศ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่

2. มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่งถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคง และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปรี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

3.ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย

4. เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดหมาย

           เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ ในการเพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพได้

กลุ่มเป้าหมาย

           กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน

1. ผู้ที่ไม่มีอาชีพ
2. ผู้มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ

ระยะเวลา 50 ชั่วโมง

ทฤษฎี 20 ชั่วโมง ปฏิบัติ 30 ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตร

1.ช่องทางการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
    1.1 ความสำคัญของการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
    1.2 ความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
          1.2.1 ความต้องการของตลาด
          1.2.2 การใช้แรงงาน
          1.2.3 การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์
          1.2.4 การเลือกทำเลที่ตั้ง
    1.3 แหล่งเรียนรู้
    1.4 การตัดสินใจในการเลือกอาชีพ

2.ทักษะการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
   2.1 ขั้นเตรียมการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
         2.1.1 สถานที่/พื้นที่
         2.2.2 การเตรียมวัสดุ
         2.2.3 การทำอาหารเสริมเห็ด
         2.2.4 ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
   2.2 ขั้นเพาะเห็ดฟางได้
   2.3 ขั้นตอนการดูแลโรคเห็ดเพื่อการจำหน่ายหรือบริโภค

3.การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
   3.1 การบริหารจัดการการเพาะเห็ดฟาง
         3.1.1 การจัดการควบคุมคุณภาพในการเพาะเห็ดฟาง
         3.1.2 การลดต้นทุนในการเพาะเห็ดฟาง
         3.1.3 การวางแผนการผลิต
   3.2 การจัดการตลาดในการเพาะเห็ดฟาง
         3.2.1 การทำฐานข้อมูลลูกค้า
         3.2.2 การกระจายเห็ดฟางไปสู่ผู้บริโภค
         3.2.3 การวางแผนการตลาด
   3.3 การจัดการความเสี่ยง
         3.3.1 การวิเคราะห์ศักยภาพในการเพาะเห็ดฟาง
                  1) การเลือกฤดูผลิต
                  2) ค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดฟาง
                  3) ผลกำไรที่ได้จากการเพาะเห็ดฟาง
                  4) คู่แข่งขัน
        3.3.2 การวางแผนการจัดการความเสี่ยง
   3.4 การวางแผนการดำเนินงาน

4.โครงการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
    4.1 ความสำคัญของโครงการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
    4.2 ประโยชน์ของโครงการประกอบอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
    4.3 องค์ประกอบในแต่ละองค์ประกอบของอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
    4.4 การเขียนโครงการการเพาะเห็ดฟาง
    4.5 การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของโครงการการเพาะเห็ดฟาง

การจัดกระบวนการเรียนรู้

- ศึกษาข้อมูลจากเอสาร/ภูมิปัญญา
- การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ฝึกปฏิบัติจริง

สื่อการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

การเทียบโอน

ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น

การวัดและประเมินผล

1. การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร
2. การประเมินผลงานการปฏิบัติระหว่างเรียนความสำเร็จของการปฏิบัติและจบหลักสูตร

การจบหลักสูตร

1. มีเวลาเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. มีผลการประเมินตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

เอกสารหลักฐานการศึกษา

      ประกาศนียบัตรการศึกษา ออกโดยศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


อ้างอิงภาพเคลื่อนไหวจาก http://www.youtube.com

1 ความคิดเห็น: