วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลักสูตรการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น


หลักสูตรการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

จำนวน  50 ชั่วโมง

กลุ่มวิชาความคิดสร้างสรรค์

ความเป็นมา


                  การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข็มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก   ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่งและมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาค อาเซียนและระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ


                สภาพสังคมในปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ทรัพยากรมีน้อยลง จึงมีความจำเป็น

ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการประกอบอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากการประกอบอาชีพให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น

              อาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้และการมีงานทำอย่างยั่งยืนของประชาชน


หลักการของหลักสูตร

            การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา อาชีพเพื่อการมีงานทำ กำหนดหลักการไว้ดังนี้

               1.เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละประเทศ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่

              2. มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่งถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคง และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปรี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

              3.ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย

              4. เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน


จุดหมาย

1.       เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

2.       เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบการมัดลาย การย้อมสี ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

3.       เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ

4.       เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

กลุ่มเป้าหมาย

          กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน

1.ผู้ที่ไม่มีอาชีพ

2. ผู้มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ

3.ควรเป็นผู้มีใจรักในการทอผ้าและมีความอดทน

ระยะเวลา   50  ชั่วโมง

            ทฤษฎี  15  ชั่วโมง  ปฏิบัติ  35  ชั่วโมง


โครงสร้างหลักสูตร

1.ช่องทางการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2  เส้น

1.1 ความสำคัญของการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2  เส้น

1.2ความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2  เส้น

1.2.1การวางแผนและบริหารจัดการ

1.2.2แหล่งเงินทุนและการจัดหาเงินทุน

1.2.3ความต้องการของตลาด

1.2.4ช่องทางการจัดจำหน่าย

1.3ศึกษาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

          1.3.1ศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม

          1.3.2สถานประกอบการเกี่ยวกับการทอผ้า

          1.3.3ร้านค้าหรือตัวแทนในการจำหน่ายผลผลิต

          1.3.4เครือข่ายกลุ่มทอผ้า

1.4การตัดสินใจในการเลือกอาชีพ

          1.4.1ความต้องการของตลาด

          1.4.2สถานประกอบการเครือข่าย กลุ่ม องค์กร ที่ประสบผลสำเร็จ






2.ทักษะการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2  เส้น

2.1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

-ประวัติความเป็นมาวัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2 เส้น

          -กระบวนการและรูปแบบการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2  เส้น

          -ความสำคัญและประโยชน์ของการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2 เส้น       

2.2การเตรียมวัตถุดิบและส่วนประกอบ

          -ขั้นตอนในการเตรียมไหมสำหรับการทอ

          -การเลือกเส้นไหม

          -วัตถุดิบและส่วนประกอบ

2.3การฟอกไหม

          -วัตถุประสงค์ของการฟอกไหม

          -วัสดุและอุปกรณ์ของการฟอกไหม

          -ขั้นตอนการฟอก

          -ข้อควรระวังในการฟอกไหม                                

2.4การกวักไหม/การแกว่งไหม

          -จุดประสงค์ของการกวักไหม/การแกว่งไหม

          -วัสดุและอุปกรณ์

          -วิธีการกวักไหม/การแกว่งไหม

          -ข้อควรระวังในการกวักไหม/การแกว่งไหม

2.5การเตรียมเส้นไหมพุ่ง/ไหมยืน

          -ขั้นตอนการเตรียมเส้นไหมพุ่ง/ยืน

          -การออกแบบลวดลาย

          -การร้อยหลอดเล็กเป็นพวง

2.6การค้นเส้นไหม

          -จุดประสงค์ของการค้นไหม

          -วัสดุและอุปกรณ์

          -วิธีการค้นไหม

          -ข้อควรระวังในการค้นไหม

2.7การออกแบบลายและการย้อมสีไหม

          -วัสดุอุปกรณ์

          -วิธีการมัดลาย/ขั้นตอน/การย้อมสีไหม

          -ข้อควรระวังในการมัดลายและการย้อมสีไหม

          -การตรวจสอบความถูกต้องของลวดลาย


2.8การกรอเส้นไหมยืน/ไหมพุ่ง

          -จุดประสงค์ของการกรอไหม

          -วัสดุและอุปกรณ์

          -วิธี/ขั้นตอนการกรอไหม

          -ข้อควรระวังในการกรอไหม

2.9การม้วน/ปั่นไหม

          -จุดประสงค์ของการม้วน/ปั่นไหม

          -วัสดุและอุปกรณ์

          -วิธีการการม้วน/ปั่นไหม

          -ข้อควรระวังในการการม้วน/ปั่นไหม

2.10การเก็บตะกอ

          -จุดประสงค์ของการเก็บถักตะกอ

          -วัสดุและอุปกรณ์

          -วิธี/ขั้นตอนการเก็บตะกอ

          -ข้อควรระวังในการเก็บตะกอ

2.11การทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น        

          -ขั้นตอนการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2  เส้น

          -การเตรียมกี่

          -การนำหลอดพุ่งใส่กระสวย

          -การเหยียบตะกอ

          -การพุ่งกระสวย

          -การจัดลวดลายและแต่งริมขอบผ้า

          -การกระแทกฟืม

          -การขึงหน้าผ้าให้ตึง

          -การต่อเส้นไหมยืนและเส้นไหมพุ่งเมื่อเส้นไหมขาด

          -การปรับและปล่อยเส้นไหมยืน

          -การหวีเส้นยืนขณะทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

          -การเก็บกี่เมื่อหยุดพักการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2  เส้น

2.11การประยุกต์รูปแบบการขายเป็นผ้าแบบต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย

          -การทอผ้าคลุมไหล่

          -การทอผ้าพันคอ

          -การทอผ้ารูปแบบอื่นๆเช่น ผ้าปูโต๊ะ  ผ้าตกแต่งผนัง และอื่นๆ




3.การบริหารจัดการอาชีพ                                                                           

3.1การบริหารจัดการอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ  2 เส้น

3.1.1การดูแลรักษาคุณภาพของผ้า

3.1.2การลดต้นทุนในการผลิตของผ้า

3.1.3การเพิ่มมูลค่าสินค้า

          -การแปรรูป

          -การออกแบบ

          -การประยุกต์ใช้

3.2การจัดการตลาด

3.2.1การทำฐานข้อมูลลูกค้าที่ใช้บริการ/คู่แข่งทางการตลาด

3.2.2ประชาสัมพันธ์

3.2.3ส่งเสริมการขายและการบริการ

3.2.4การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์

3.3การจัดการความเสี่ยง

3.3.1การวิเคราะห์ศักยภาพในการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

3.3.2แก้ปัญหาความเสี่ยงในการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

4.โครงการประกอบอาชีพ

4.1ความสำคัญของโครงการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

4.2ประโยชน์ของโครงการประกอบอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

4.3องค์ประกอบในแต่ละองค์ประกอบของอาชีพการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

4.4การเขียนโครงการการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น

4.5การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของโครงการการทอผ้าพื้นเมืองแบบ 2 เส้น


การจัดกระบวนการเรียนรู้

1.ศึกษาข้อมูลจากเอสาร/ภูมิปัญญา

2.ฟังวิทยากรบรรยายให้ความรู้

3.การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้

4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้

5.ทำใบความรู้และใบงาน

6.ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

7.ฝึกปฏิบัติจริงและทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้





สื่อการเรียนรู้

          1.สื่อเอกสาร

          2.เอกสารประกอบการเรียนรู้

          3.ใบงาน

          4.ใบความรู้

          5.ภูมิปัญญา

          6.สถานประกอบ

การวัดและประเมินผล

1.การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร

2.การประเมินผลงานการปฏิบัติระหว่างเรียนความสำเร็จของการปฏิบัติและจบหลักสูตร

การจบหลักสูตร

1.มีเวลาเรียนและฝึกปฏิบัติตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2.มีผลการประเมินผ่านตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3.มีผลงานที่มีคุณภาพจึงจะได้รับวุฒิบัตร

เอกสารหลักฐานการศึกษา

1.หลักฐานการประเมินผล

2.ทะเบียนคุมวุฒิบัตร

3.วุฒิบัตรออกโดยสถานศึกษา

การเทียบโอน
ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น


อ้างอิงภาพจาก http://www.openbase.in.th/node/5643 
อ้างภาพเคลื่อนไหวจาก http://www.youtube.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น